ยินดีต้อนรับสู่หอสมุดเลือด : Play by Post Forum ที่ยั่งยืนที่สุดในประเทศไทย
0 Members and 1 Guest are viewing this topic.
พระอาจารย์ธรรมโชติ เดิมชื่อ โชติ ขณะบวชได้ฉายาทางพระว่า ธรรมโชติรังษี พื้นเพเป็นชาวเมืองสุพรรณ ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บวชเรียนแล้วจำพรรษา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ณ วัดเขาขึ้นหรือเขานางบวช ท่านมีความรู้ด้านวิชากสิณ ด้านวิชาอาคมที่แก่กล้า ด้วยทั้งพรรษาและวิชาต่างๆที่ได้ศึกษาฝึกพร่ำร่ำเรียนมา ใครเห็นล้วนแต่เกิดศรัทธาพระอาจารย์ธรรมโชติ ตามประวัติเดิม พำนักอาศัยอยู่ ณ วัดเขานางบวช ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนาไปพำนักอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น จังหวัดสิงห์บุรี[1] ด้วยเหตุที่พระอาจารย์ธรรมโชติมีวิทยาอาคมสูง และได้ลงวิทยาอาคมกับผ้าประเจียด ตะกรุดพิสมร แจกจ่ายให้กับนักรบค่ายบางระจัน[2] สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ในหนังสือไทยรบพม่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นได้หายสาบสูญไปหรือจะมรณภาพในเวลาเสียค่ายแก่พม่า หรือหนีรอดไปได้หาปรากฏไม่[3] แต่ตามความเชื่อและตำนานท้องถิ่นของชาวจังหวัดสุพรรณบุรีเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อค่ายบางระจันมีทีท่าว่าจะแตก ลูกศิษย์ใกล้ชิดพระอาจารย์ธรรมโชติก็ได้นิมนต์ท่านหลบหนีออกจากค่ายสุดท้ายลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง (ซึ่งไม่มากนัก เพื่อไม่ให้เป็นการแลดูน่าสงสัยแก่ผู้พบเห็นทั่วไป) ได้พาท่านออกมาจากค่ายบางระจัน ชั่วครู่ก่อนค่ายจะแตก แล้วลี้ภัยข้าศึกอยู่ในป่าเขาลำนำไพรจวบจนสงครามสงบจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขานางบวช บ้างก็ว่าหลังจากออกจากค่ายบางระจันมา ท่านก็ไม่ไปหลบอยู่ที่ไหน แต่ขอกลับมาอยู่วัดเขานางบวช วัดเดิมที่ท่านเคยจำพรรษาอยู่ โดยลูกศิษย์ทำช่องลับไว้ให้ท่านหลบอยู่บริเวณวิหารของท่าน (ซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่) ไว้ให้ท่านนั่งเจริญสมาธิกรรมฐาน บำเพ็ญกุศล บำเพ็ญเพียรโปรดแก่เหล่าสรรพสัตว์ วิญญาณวีรชน และชาวบ้านบางระจัน