Timeline- ชนเผ่าเซลจุกเติร์กจากเอเชียรุกรานแถบอนาโตเลียและยึดเอาดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ไปเป็นอันมาก
- จักรพรรดิ Alexius I ร้องขอให้พระสันตะปาปาส่งอัศวินมาช่วยเหลือเพื่อกอบกู้ดินแดนกลับคืน
- พระสันตะปาปาเรียกร้องปลุกใจชาวคริสต์จำนวนมาก เกิดเป็นกองทัพผู้คลั่งไคล้ที่มีสภาพไม่ต่างจากกองทัพคนเถื่อน
- ผู้นำกองทัพครูเสดคือ ขุนนางชั้นสูง Godfrey Raymond และยอดนักรบนอร์มัน Bohemond ตามด้วยการเข้าร่วมของนักบุญ Peter
- ชาวไบแซนไทน์มองว่าพวกเขาเป็นอนารยชนที่โง่งมและดูแคลนพวกเขาที่ตาโตกับความศิวิไลซ์ของกรุงคอนสแตนติโนเปิล พวกเขาถูกรังเกียจ
- กองทัพครูเสดเคลื่อนทัพผ่านดินแดนแถบอนาตาโตเลีย ยึดเอานครอันติออกมาได้เป็นแห่งแรก และ Baldwin แยกไปยึดเอเดสซา
- สงครามครูเสดครั้งแรกจบลงด้วยชัยชนะของชาวคริสต์ นครเยรูซาเล็มตกเป็นของพวกเขา
- Raymond สถาปนาตนเป็นกษัตริย์และไม่ยอมคืนดินแดนให้กับจักรวรรดิสร้างความขุ่นเคืองและโกรธแค้นให้กับจักรวรรดิ
- การประหารหัวหน้าอัศวินเทมพลาร์และอัศวินในคณะนับสิบๆคนส่งผลให้อาณาจักรเยรูซาเล็มอ่อนแอลง
- การรวมตัวของชาวเติร์กเป็นจักรวรรดิภายใต้ผู้นำคือสุลต่านซังกี ดินแดนของจักรวรรดิเติร์กขยายออกกว้างใหญ่ไพศาล
- การเสียกรุงเยรูซาเล็ม กษัตริย์ Raymond สิ้นพระชนม์ และฝ่ายเติร์กเข้าครอบครองเมือง
- ฝ่ายครูเสดเสียราชรัฐเอเดสซาให้กับเติร์กในเวลาต่อมา
- จักรวรรดิเติร์กยังคงครอบครองกรุงเยรูซาเล็ม หลังการหายสาบสูญไปของสุลต่านซังกี บุตรบุญธรรมของซังกีขึ้นเป็นสุลต่าน
- เมื่อสูญเสียสุลต่านซังกีจักรวรรดิเติร์กก็เริ่มแตกแยกและอ่อนแอลงจากการแตกแยกชิงอำนาจกันเอง
- สงครามครูเสดเปิดฉากขึ้นเป็นครั้งที่สองนำโดยฝรั่งเศสและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
- หากแต่จักรพรรดิ Conrad แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มาถึงก่อนแยกไปโจมตีเอเดสซา
- ฝรั่งเศสที่ตามมาทีหลังไม่มีทางเลือก การโจมตีนครเยรูซาเล็มมีความเสี่ยงที่จะปราชัย กษัตริย์ Louis ตัดสินใจยกเลิกการโจมตี
- สงครามครูเสดครั้งที่สามเปิดฉากขึ้นโดยอังกฤษเข้าร่วมสงคราม
- กาหลิบแห่งอียิปต์รวบรวมไพร่พลชิงเข้าโจมตีดินแดนครูเสดในดินแดนศักดิ์สิทธิ์และหวังยึดกรุงเยรูซาเล็มจากชาวเติร์กแต่ไม่สำเร็จ
- ผู้นำคนใหม่ของชาวเติร์กคือ เศาะลาฮุดดีน สุลต่านแห่งซีเรีย
- ในช่วงเวลาเดียวกัน เผ่ามองโกลได้รุกรานเข้ามายังรัสเซีย และดินแดนตะวันออกของจักรวรรดิเติร์กบางส่วน
"เราจำได้ อียิปต์มีนักรบทาสที่เก่งกาจ หากเหล่ามุสลิมซุนนีย์และชีอะห์รวมกันได้ก็ไม่มีอริใดที่เราต้องยำเกรง"
"ท่านว่าอย่างไร" แต่เมื่อเศาะลาฮุดดีนหันไปก็ไม่พบเงาของชิกูร์ผู้ลุงแล้ว
มาวันนี้เราตระหนักได้อย่างแท้จริงว่าคำสอนของท่านนั้นศักดิ์สิทธิ์เพียงใด